เคยประสบปัญหาไหม คิดคอนเท้นต์มาอย่างดีแต่ เขียนบทความ อย่างไรก็ไม่ติดหน้าแรกๆ ของการค้นหาบน Google เลย ทำอย่างไรก็ไม่ติดหน้าแรกๆสักที แล้วจะ เขียนบทความอย่างไร ให้ติดหน้าแรก หล่ะ?
เขียนยังไงก็อยู่หน้าท้ายๆตลอด ไม่ค่อยมี Traffic เข้ามาใน Content ที่เราเขียนขึ้นมาเลย ทั้งๆที่เราตั้งใจเขียนมันขึ้นมาแล้วแท้ๆ
แล้วจะทำอย่างไรหล่ะ?
ทำอย่างไรให้เขียน Content ให้ Google นั้นยอมรับว่าเป็นเนื้อหาที่ดี และ จัดอันดับให้เนื้อหาของเราอยู่บนหน้าแรกๆ
ปัญหาเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นกับการเขียน ที่ยังไม่ถูกต้องตามหลักการของทฤษฏีสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งบริบทของ Google นั้นใช้หลักการของสื่อสิ่งพิมพ์ ในการเขียน Content เลยก็ว่าได้ ใช้รูปแบบเดียวกันเลยครับ
ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าหลักการเขียนหนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสารนั้น เขาจัดหน้าอย่างไร จัดวางองค์ประกอบอย่างไร แล้วมันเกี่ยวข้องกับการเขียน Blog Post บนเว็บไซต์ของเราอย่างไร
ให้เรานึกถึงหนังสือพิมพ์ หรือ หนังสือนิตยสาร วรสารต่างๆ เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพ
จะเห็นได้ว่า หนังสือพิมพ์จะพาดหัวข้อข่าวที่โดดเด่น มันคือการ พาดหัวข่าว ถ้าในบทความ มันก็คือการเขียนหัวข้อเรื่องนั่นแหละครับ จุดนี้ค่อนข้างสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมันจะแสดงเป็นสิ่งแรกในการค้นหาบน Google
ผมอยากให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Heading ต่างๆ ผมเคยเขียนไว้ในบทความ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : SEO On-Page คืออะไร ทำไมจำเป็นในการทำเว็บไซต์
การตั้งชื่อเรื่อง เขียนพาดหัวข่าว หัวข้อนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะมันคือต้องใช้ศาตร์และศิลป์ในการคิดคำพูดสั้นๆ แต่มีความหมายครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด และสามารถดึงดูดผู้อ่านให้เข้ามารับชมเนื้อหาบนเว็บไซต์ของเรานั่นเอง
ความสำคัญของการ ตั้งชื่อเรื่อง หรือ พาดหัวเรื่อง ในการ เขียนบทความ
การคิดชื่อเรื่อง ตั้งชื่อเรื่อง นั้นถือเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างนึงในการเขียน เราจะใช้คำสั้นๆอย่างไรให้ดึงดูดคนอ่านให้คลิ๊กเข้ามา และมันคือหัวข้อสำคัญในการที่ Google จะจัดอันดับให้เราด้วย ดังนั้นเราควรจะคิดให้ถี่ถ้วน และที่สำคัญ ควรจะมี Keyword การค้นหาที่สำคัญ อยู่ในส่วนหัวข้อเรื่องนี้ด้วยเป็นสิ่งสำคัญ..
ใช้ความรู้สึกในการ ตั้งชื่อเรื่อง
เรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วในการทำให้ผู้คนคลิกเว็บไซต์ของคุณใน SERPs มากขึ้นคือการมีชื่อที่กระตุ้นอารมณ์รุนแรง เล่นกับความรู้สึกของผู้คน เราไม่ได้พูดแบบใช้อารมณ์ พูดแค่แทงใจ ให้โดนใจนั่นเอง
ตัวอย่างง่ายๆ ของการเขียนหัวข้อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก คุณขายอะไรสักอย่าง อย่างเช่น คุณขายขนมเค้ก คุณต้องบอกว่า ขนมเค้กของคุณมันพิเศษกว่าเค้กทั่วๆไปอย่างไร มากแค่ไหน รสชาติหน้าตาเป็นอย่างไร
“ขนมเค้กอีกี้ อร่อยเต็มที่ ขี้เต็มกางเกง”
มันคือการสร้างอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน ให้เกิดเห็นภาพ และความอยาก จนเกิดการคลิ๊ก หัวข้อพวกนี้สามารถดึงดูดผู้อ่านได้เป็นอย่างมาก และทรงพลังใน SEPRs อีกด้วย แต่ไม่ใช่ว่า ใช้หัวข้อข้อที่น่าสนใจ แต่เนื้อหาภายใน ไม่สอดคล้อง หรือไม่เกี่ยวข้องอะไรกับพาดหัวข่าวเลย เป็นเหมือนกับหลอกล่อให้เกิดการคลิ๊ก แต่เมื่อผู้อ่าน อ่านไปแค่ไม่กี่บรรทัดแรก ก็ปิดหนีไปซะแล้ว แทนที่จะส่งผลดี กลับส่งผลเสียเรื่อง ระยะเวลาเซสชั่นไปเสียด้วยอีก
การใช้คำที่ทรงพลังในการ ตั้งชื่อเรื่อง
การใช้คำพูดที่ทรงพลังในการดึงดูด นั้นเป็นอีกปัจจัยนึงใน SERPs ซึ่งมีนัยยะสำคัญคือ การใช้คำที่ดึงดูดและแตกต่างจากการใช้คำธรรมดาทั่วไป ตัวอย่างว่า แทนที่เราจำใช้คำว่า “ขนมเค้ก ร้านอีกี้ อร่อยมาก ต้องลอง” ลองเป็นประโยคว่า “กำลังหาอยู่หรือเปล่า? ขนมเค้กที่คุณยังไม่เคยได้ลิ้มรสมาก่อน” จะเห็นได้ว่า มันคือการขายขนมเค้กเหมือนกัน แต่เราใช้คำพูดแตกต่างกัน ซึ่งก็แล้วแต่ไอเดียการคิดของแต่ละท่านนั่นเอง
การใช้หมายเลขในการ ตั้งชื่อเรื่อง
การใช้ตัวเลขเข้ามาในการตั้งชื่อเรื่อง หลังๆนี้นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก ในการคิดหัวข้อเรื่องคอนเท้นต์ต่างๆ ซึ่งมันทรงพลังมากใน SERPs เราสามารถใช้ตัวเลขในการคิดชื่อเรื่อง และเรามักจะพบเห็นชื่อคอนเท้นต์ต่างๆบน Youtube Tiktok และ ตาม Social Media ต่างๆ โดยทั่วไป
อย่างจำพวก การจัดอันดับต่างๆ
“10 อันดับ แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ย่านกรุงเทพฯ”
“15 อันดับ ขนมเค้กยอดนิยม ที่ต้องหามาลอง”
มันอาจจะดูเป็นหัวข้อคอนเท้นต์ที่เกลื่อน แต่มันคือได้ผลดีมากเช่นกันบน SERPs และ Social Media ต่างๆ
การใช้ Keyword ในการตั้งชื่อเรื่อง
นี่ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในหัวข้อนี้เลยก็ว่าได้ มันจำเป็นอย่างมากที่เราต้องมี Keyword สำคัญแทรกในหัวข้อที่เราคิดมาทั้งหมด มันเป็นเรื่องยากผมเข้าใจ แต่มันคือสิ่งจำเป็น เพราะ SERPs นั้นจะจัดอันดับให้กับการค้นหานี้ด้วย Keyword ไหน เราสามารถกำหนดในส่วนนี้ได้
“ขนมเค้กอีกี้ อร่อยเต็มที่ ขี้ไม่หยุดหย่อน”
ในหัวข้อนี้ผมใช้ Keyword “ขนมเค้กอีกี้” ในการกำหนดการค้นหา SERPs เราสามารถคิดหัวข้อที่ทรงพลังผสมกับการแทรก Keyword ลงบนชื่อเรื่องของเรา
อ้างอิง : https://rankmath.com/kb/score-100-in-tests/
เข้าใจบริบทการจัดอันดับของ Google
เราต้องเข้าใจถึงบริบทการจัดอันดับ SEPRs ซะก่อนที่เราจะเข้าใจว่า Google นั้นจะมองเนื้อหาของเราอย่างไร เนื้อหาแบบไหนที่ทรงพลัง และ SERPs จัดอันดับให้เรา
เนื้อหาที่เป็นต้นฉบับ
โดยบริบทแล้ว Google มักจะให้ความสำคัญกับ “เนื้อหาต้นฉบับ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเสมอ นั่นหมายความว่า เนื้อหา Content ของคุณ ต้องเป็นต้นฉบับ และเป็นผู้เขียนคนแรกของเนื้อหานั้นๆเสมอ Google จะจัดอันดับเนื้อหาของคุณให้อยู่ Top1 โดยบริยาย
แต่มันเป็นเรื่องยากมากจริงๆ ที่เราจะคิดหรือเขียนหัวข้อที่เป็นเนื้อหาต้นฉบับจริงๆ มันมีอะไรที่มีรายละเอียดซับซ้อน มีแหล่งอ้างอิง เหมือนการเขียน วิทยานิพนธ์ตอนเราเรียนจบขึ้นมาเลยก็ว่าได้ หรือ เป็นสิ่งที่ “รู้เฉพาะเรา คนอื่นไม่รู้”
อย่างพวกสูตรต่างๆ ที่รู้เพียงแค่เฉพาะเรา และคนอื่นๆไม่รู้ เนื้อหาเหล่านี้ทรงคุณค่าต่อ Google เป็นอย่างมาก
“นี่แหละเนื้อหาที่ Google ต้องการ”
และถูกจัดอันดับเนื้อหาอยู่บนสุดโดยทันที
ตัวผมเองเคยเขียน Content เกี่ยวกับ “การผสมน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า” ซึ่งผมเขียนไว้ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว และก็ยังคงอยู่อันดับ 1 อยู่ตลอดกาล เพราะว่า เนื้อหานี้มันคือ “เนื้อหาต้นฉบับ” ที่เป็นความรู้เฉพาะที่ไม่ค่อยมีใครรู้และเขียนขึ้นมานั่นเอง
ถ้าไม่ใช่เนื้อหาต้นฉบับหล่ะ?
แน่นอนอยุ่แล้วว่า การเป็นเนื้อหาต้นฉบับนั้นค่อนข้างยากมาก และไม่สามารถคิดคอนเท้นต์ที่เป็นเนื้อหาแรกๆของ Google ได้เลย แต่มันก็ยังสามารถติดหน้าแรกๆได้ แต่ก็ไม่อาจสู้กับเนื้อหาต้นฉบับได้ เราต้องยอมรับในจุดนี้ ยังไงก็ต้องเป็นรองเนื้อหาต้นฉบับอยู่ดี
แล้วทำอย่างไร?
ไม่อยู่บนสุด แต่ขออยู่หน้าแรกๆเป็นตัวเลือกก็ยังดี!!
และนี่ก็เป็นสิ่งนึงที่ผมจะเขียน ในหัวข้อถัดๆไป ในเนื้อหาต่อไปนี้..
เป็นไปได้ยากมากที่จะคิดหัวข้อแรกๆเพราะ “ก่อนที่เราจะคิดได้ คนอื่นเขาก็คิดได้ไปก่อนซะแล้ว” มันสายไปแล้ว แล้วจะทำอย่างไร?
เราสามารถเขียนเนื้อหาที่เป็นเนื้อหาที่ไม่ใช่ต้นฉบับ แต่ดีกว่าต้นฉบับได้เสมอ..
เราอาจจะอยู่ที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้ อยู่หน้าแรกๆก็ได้ Traffic แล้วครับ
จะเกิดอะไรขึ้น หากเนื้อหา Copy แซงอันดับ เนื้อหาต้นฉบับ
แน่นอนว่าเนื้อหาต้นฉบับ มันเป็นเนื้อหาแรกๆ และ Google จะให้เครดิตผู้นั้นเป็นผู้คิดค้นทางด้านความรู้นั้นๆ โดยการจำ URL นั้นๆ และให้ชื่อ URL นั้นเป็นต้นฉบับเสมอ แล้วถ้าหากวันใดวันนึงเนื้อหาที่ก๊อบมาแล้วทะยานสู่อันดับ 1 ของ Google หล่ะ?
Google ให้ความสำคัญกับเนื้อหาต้นฉบับ เปรียบเสมือน “ทรัพย์สินทางปัญญา” ผู้เขียนจะรู้สึกอย่างไร เมื่อมีคนโขมยผลงานของเขา แล้ว Google จัดอันดับให้กับผู้ที่โขมยผลงานของเรา เพราะว่า Google อาจถูกฟ้องร้องได้ ดังนั้น Google จะให้ความสำคัญกับ Content ที่เป็นต้นฉบับเอามากๆเลยทีเดียว
10 หลักการ เขียนบทความ ที่ถูกต้อง ให้ถูกจัดอันดับอยู่หน้าแรก
ผมได้เกริ่นนำหัวข้อหลักที่สำคัญไปแล้ว หวังว่าท่านผู้อ่านคงเข้าใจเนื้อหาและบริบทของมัน ผมเองก็ไม่ใช่นักเขียนที่มีความรู้อะไรมากมาย ผมเป็นเพียงแค่นักพัฒนาผลการค้นหา SERPs บน Google หรือที่เรียกว่า Seo Specialist ต่อกต๋อยๆเพียงเท่านั้น
ผมรู้อยู่แก่ใจอยู่แล้ว เนื้อหาที่ผมเขียน ไม่มีทางที่จะเป็นเนื้อหาต้นฉบับ เพราะมีเว็บอื่นๆเขียนไว้หมดแล้ว แต่สิ่งที่ผมทำได้นั่นก็คือ การเขียนเนื้อหา “โดยความเข้าใจของตัวเอง” ไม่มีการก๊อบบทความที่ติด Top หรือ เนื้อหาที่เป็นต้นฉบับแต่อย่างใด เพราะการ Copy เนื้อหาต้นฉบับ Google จะให้คะแนนเครดิตกับเนื้อหาต้นฉบับโดยบริยาย และยังคงจะติด Top1 ไปเรื่อยๆ หากมีคนพยายาม Copy เนื้อหาต้นฉบับเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใส่ ลิ้งก์อ้างอิง ลิ้งก์กลับ (Backlinks) อะไรก็ตาม Google ก็ให้คะแนนเครดิตต้นฉบับอยู่ดี
“เพราะ Google รู้ดีว่า URL ไหนคือต้นฉบับที่แท้จริง”
เขียนหัวข้อให้น่าสนใจ ในการ เขียนบทความ
ผมเกริ่นในหัวเรื่องในเนื้อหานี้ไปแล้ว มันคือปัจจัยสำคัญหลักในการคิด Content เนื้อหาต่างๆ เราสามารถกำหนด Keyword และการใช้กฏของแรงดึงดูด ความน่าสนใจของผู้อ่าน ที่ล่อเข้ามาให้เกิดการคลิ๊กเข้ามาอ่านเนื้อหาของเราได้ในที่สุด เพราะมันคือ ด่านประการแรกสุดใน
ตั้งชื่อ URL ให้สอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง และมี Keyword อยู่บน URL เสมอ
ในส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญนึง เพราะ Google จะจดจำ URL ที่เราตั้ง เป็นเหมือนการจดชื่อ จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของ Content เนื้อหาของคุณเลยก็ว่าได้ ดังนั้นควรตั้งชื่อ URL ให้สอดคล้องกับหัวข้อ และ มี Keyword ที่สำคัญอยู่ใน URL ด้วยเสมอ
เขียนบทความ ควรมี Keyword อยู่ใน Introduction เสมอ
Introduction มันคือเกริ่นนำของเนื้อหาของเรา หากเราดูในหนังสือพิมพ์ ก็จะเห็นเกริ่นนำของเรื่องๆนั้น การเกริ่นนำ เปรียบเสมือน “คำโปรย” เป็นท่อนประโยคสั้นๆ ที่บอกเรื่องราวเนื้อหาทั้งหมดที่เราเขียน โดยการเขียนแบบสั้นๆ ได้ใจความ และ บอกเล่าทุกเรื่อง เพื่อที่ผู้อ่านได้เข้าใจว่า เขาจะได้อะไรบ้าง จากการเสียเวลาสละเวลาอันมีค่าของเรา เพื่อมาอ่าน Content ของเรา!!
ดังนั้นการเขียนเกริ่นนำ คำโปรย ต้องคิดคำพูดให้ดี เพราะคิดไม่ดี ผู้อ่านอาจจะปิดเนื้อหาของคุณไปโดยที่เขายังไม่ได้อ่านเนื้อหาที่อยู่ด่านล่างๆ ที่เราพยายามเขียน พยายามบอกเลยด้วยซ้ำ
ควรมี Keyword อยู่ใน Description เสมอ
Description เปรียบเสมือน เป็นการเขียนรายละเอียดแบบสั้นๆ ให้กับ Spider ของ Google ที่เข้ามา Clawed เนื้อหา Content ของคุณ ว่าเนื้อหาของคุณ โดยภาพรวมคืออะไร เป็นอย่างไร พูดถึงเรื่องอะไร ให้ Google เขาเข้าใจเนื้อหานี้
แต่ปัจจุบันแล้ว Google มักเลือก Descrition ด้วยตัวเองจากประโยคสำคัญ ที่ Google มองว่า ประโยคนี้สำคัญจริงๆ ที่จะแสดงออกมา ดังนั้น เราก็ยังควรกำหนด ให้ Google ทราบว่า ประโยคถ้อยคำใด ที่เราเน้น และให้ความสำคัญมากที่สุด
ควรมี Keyword อยู่ใน Sub Headind บ้าง
Heading หรือ Headline เป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ในการ เขียนบทความ มันจะมี H1 ซึ่ง H1 ก็คือหัวข้อเรื่อง พาดหัวเรื่อง นั่นเอง และ H2 มันคือหัวข้อย่อยๆที่แตกออกมาจากเนื้อหาหลักของ H1 และ H3 มันคือหัวข้อย่อยของ H2 ที่มีความสอดคล้องกัน และควรมี Keyword อยู่บ้างอยู่ในหัวข้อย่อยเหล่านี้ แต่ไม่จำเป็นต้องใส่ในทุกๆหัวข้อ แต่ควรจะมีบ้าง!
ควรมี Keyword แทรกอยู่บ้างอยู่ใน Paragraph
แน่นอนว่าในเนื้อหาบทความนี้ เขียนเรื่องเกี่ยวกับ “บทความ” ซึ่งผมใช้ keyword นี้เป็น Main Keyword สำคัญ ดังนั้นผมจะมี Keyword นี้อยู่ในเนื้อหาของบทความนี้อย่างแน่นอนอยู่แล้ว แต่ควรจะใช้มันให้ดูเป็นธรรมชาติ ไม่ได้ใส่แทรกมั่วซั่ว โดยธรรมชาติแล้ว เมื่อเราเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งใด มักมี Keyword อยู่บนเนื้อหา Paragraph โดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องหาแทรกแต่อย่างใด
“ให้เนื้อหาของคุณเป็นธรรมชาติมากที่สุด”
เพราะทุกคนก็ต้องการอ่านบทความที่เล่าเรื่องเขียนเป็นธรรมชาติ น่าอ่าน มากที่สุด รวมถึง Google ด้วย Google ก็ชอบบบบ ฮ่าๆ
มีเนื้อหามากกว่า 2,000 คำขึ้นไปใน บทความ
โดยปกติเราหากเราไม่ใช่นักเขียนมืออาชีพ นักเขียนหนังสือนิยายต่างๆ คงไม่สามารถเขียน content ได้ที่มีความยาวขนาดนี้ได้ ซึ่งเข้าใจได้ว่า มันคือเรื่องยาก แต่ Google จะมองว่าเนื้อหาที่มี คำที่มากกว่า 2,000 คำ เนื้อหานั้นมีความยาว ที่อัดแน่นเนื้อหา
หากเราสังเกตุในการค้นหา SERPs ใน 10 อันดับแรกๆ นั้นส่วนใหญ่ มักจะมีเนื้อหาที่มีความยาวเสมอ สังเกตุได้เลยครับ ดังนั้น SERPs มักจะไม่ค่อยจัดอันดับเนื้อหาที่มีปริมาณเนื้อหาน้อย อยู่ในหน้าแรกๆสักเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าจะมีเนื้อหาคลอบคลุมมากก็ตาม
อ้างอิง : https://greatcontent.com/seo-content-length/
มี Keyword อยู่ในรูปภาพเสมอ
การใส่ Alt Text นั้น เป็นการบ่งบอกว่า ภาพของคุณมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ดังนั้น Traffic จะมาจากการค้นหาในโหมดรูปภาพ การใส่ Alt Text เป็นสิ่งสำคัญ ในการที่จะบอก Robot Google ว่าภาพที่คุณใช้อยู่ มันคือภาพอะไร โดยปกติแล้ว Robot มักจะอ่านในรูปแบบ Code HTML หรือ Code อื่นๆ จะไม่ทราบว่า รูปภาพนั้น คือภาพอะไร
แต่เราจะบอกได้ว่า ภาพนี้คือภาพอะไร โดยการใส่ Alt Text นั่นเอง
ชื่อไฟล์รูปก็ถือว่าเป็นการบ่งบอก Robot Google ว่าภาพนั้นคือภาพอะไร รวมถึง คำอธิบาย Description ด้วยเช่นกัน ดังนั้น พยายามอย่าละเลยในจุดๆนี้ เพราะมันมีประโยชน์ต่อการจัดอันดับ SERPs เช่นกัน
มี Image หรือ Video อยู่ใน บทความ ด้วย
การเขียนหนังสือนิยาย นิตยสาร หรือ หนังสือพิมพ์ ล้วนมีรูปภาพประกอบเสมอ บทความ ก็เช่นกัน บทความก็ต้องการภาพหรือวิดิโอประกอบเนื้อหาด้วย หากรูปภาพนั้นๆ สามารถอธิบายเนื้อหา หรือ เล่าเรื่องได้ในหัวข้อนั้นๆยิ่งดี อาจจะเป็นภาพ Info Graphic ที่ดี
แต่ที่แนะนำเลยก็คือ การมี Content ในรูปแบบ วีดิโอ ที่แทรกอยู่ในเนื้อหาด้วย และ Video นั้นก็ “มีเนื้อหาเดียวกันกับบทความที่เขียน” ก็จะทรงพลังใน SERPs อีกด้วย
หากสังเกตุได้ว่า เนื้อหาที่มีคุณภาพสูง เนื้อหายาวๆ มักมีรูปภาพ และมีวีดิโอประกอบด้วย
มักจะอยู่ใน 10 หน้าแรกเสมอ ดังนั้น หากใครมีช่อง Youtube ของตัวเอง ก็สามารถลง Content เชื่อมโยงได้ในสองช่องทางเชื่อมหากัน โดยที่เราส่งลิ้งก์ Blogpost สู่ Youtube และช่อง Youtube ลิงก์เข้าสู่ Blogpost นั่นเอง
Internal / External Links เป็นหนึ่งที่ควรมีในการเขียน บทความ
การเชื่อมโยงของ Keyword ในเนื้อหานั้นๆ เข้าสู่หน้าใดหน้านึงภายในเว็บไซต์ของเรา เรียกว่า Internel Links ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะมี อย่างน้อย 1-2 Links
ในการแนะนำของผมคือหากมี Main Keyword เว็บของคุณอยู่ในเนื้อหาบทความนั้นๆ เราก็ควรจะลิงก์ไปยันหน้านั้นๆ อย่างเช่น Home Page ของเว็บผม Main Keyword คือ “รับทำเว็บไซต์” ผมก็ส่งลิงก์ไปยันหน้าแรกด้วย Anchor Text ที่เป็น Main Keyword นั้นๆ สัก 1 Link ก็เพียงพอแล้ว
หรือ เนื้อหาของเรา เชื่อมโยงกับ เนื้อหาอื่นๆ หรือ อยากให้ผู้อ่าน อ่านต่อในเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ก็สามารถลิงก์เชื่อมโยงเนื้อหากันได้ ซึ่ง Google จะมองว่ามันคือเนื้อหาเดียวกัน ที่สอดคล้องกัน และระบุ Canonical URL กับเนื้อหาหลักให้เรียบร้อย เพื่อให้ Google รู้ว่าเนื้อหาไหนคือเนื้อหาหลัก เนื้อหาไหนคือเนื้อหารอง เอาไว้อ่านเพิ่มเติม
External Link นั้นจริงๆแล้ว “จะมีหรือไม่มีก็ได้” แต่ในบริบทของการส่งออกลิงก์ นั้นพึงกระทำโดยการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ควรจะส่งลิงก์ออกไปยันเว็บไซต์ใดเว็บไซต์นึงในทุกๆเนื้อหา ซึ่งเป็นการกระทำที่ Google ไม่ชอบเลย แถมยังโดนหักคะแนน SERPs อีกด้วย
การอ้างอิง เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของเนื้อหาของคุณเอง หากเนื้อหาของคุณไม่ใช่เนื้อหาที่เป็นต้นฉบับแล้ว การอ้างอิงเนื้อหาจากแหล่งที่มาอื่น ก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำ และควรจะเป็น มันเป็นธรรมเนียม และเป็นมารยาทในสังคม Online อยู่แล้ว
สรุปเนื้อหา เขียนบทความ อย่างไรให้ติดหน้าแรก!
เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใช่แล้วครับ คุณเก่งมาก!! ที่อ่านมาได้ถึงตรงนี้ 5555 เพราะมันยาวและดูน่าเบื่อมาก ผมไม่ใช่นักเขียนที่สามารถเขียนให้สนุกและบันเทิงได้เลย ผมก็แค่เขียนในสิ่งที่ผมได้เรียนรู้มา เรียนรู้กับความผิดพลาด เรียนรู้กับความล้มเหลว ที่ผมได้พบเจอ และประสบมากับตัวผมเอง
ผมแค่อยากแชร์ประสบการณ์ให้ทุกท่าน ได้ลองนำไปปรับใช้ และเขียนบทความ สร้าง Content ที่สุดยอด ที่ทุกคนอยากอ่าน ทุกคนต้องการ และ เป็นเนื้อหาคุณภาพที่ Google ต้องการ!!
จงอย่าหยุดความพยายาม สักวันนึงเนื้อหาของคุณจะสามารถออกโลดแล่นบน SERPs การค้นหาของ Google และได้ Traffic Organic มาอย่างมากมาย แบรนด์และสินค้าของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยการนำเสนอ content บนเว็บไซต์ของคุณ
หากคุณอยากได้เว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูง ติดอันดับ Google บนหน้าแรกๆแล้วหล่ะก็ ต้อง Makewebforyou.com เท่านั้น เชื่อใจผมและประสบการณ์ที่ผมมี มอบเว็บไซต์อันทรงคุณค่าให้กับคุณ..